วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่5 ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)

5.1 บทนำ

             "ฮาร์ดดิสก์" เป็นอุปกรณ์ที่รวมเอาองค์ประกอบทั้งกลไกการทำงานและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไว้ด้วยกัน แม้ว่าฮาร์ดดิสก์นั้นจะได้ชื่อว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนที่สุด ในด้านอุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนไหว แต่ในความเป็นจริงแล้วการอิบายการทำงานของฮาร์ดดิสก์นั้นถือว่าได้ง่ายภายในฮาร์ดดิสก์นั้นจะมีแผ่น Aluminum Allooy Platter หลายแผ่นหมุนอยู่ด้ววยความเร็วสูง โดยจะมีจำนวนแผ่นขึ้นอยู่กับแต่ละละยี่ห้อต่างกันำป เมื่อผู้ผู้ใช้พิมพ์คำสั้งให้คอมพิวเตอร์ทำงานแขนกลของฮาร์ดดิสก์ จะรับคำสั่งและเคลื่อนที่ไปยังส่วนที่ถุกต้องของแพล็ตเตอร์ (Platter)  เมื่อถึงที่หมายก็การทำการอ่านข้อมุลลงบนแผ่นดิกส์นั้น หัวอ่านจะอ่านข้อมูลแล้วส่งไปยัง ซีพียู จากนั้นไม่นานข้อมูลที่ต้องการก็จะปรากฏ การทำงานเขียนอ่านข้อมูลของ ฮาร์ดดิสก์ จะมีการทำงานคล้ายกับการทำงานของเทปคาสเซ็ท

5.2 การทำงานของฮาร์ดดิสก์

                 แพล็ตเตอร์ของฮาร์ดดิสก์  เป็นหลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี ความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์มีดังนี้ สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก
สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที
แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.08 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 30000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 500 จิกะไบต์ ถึง 40 เทระไบต์[ต้องการอ้างอิง] ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ (แอสกี ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วิดีโอ และเสียง) โดยที่ไบต์จำนวนมากมายรวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมาผ่านไปยังตัวประมวลผลเพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป
เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคือ
อัตราการส่งผ่านข้อมูล (Data rate) คือ จำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 400 เมกะไบต์ต่อวินาที[ต้องการอ้างอิง]
เวลาค้นหา (Seek time) คือ หน่วงเวลาที่หัวอ่านต้องใช้ในการเข้าไปอ่านข้อมูลตำแหน่งต่างๆ ในจานแม่เหล็ก โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งมักขึ้นอยู่กับความเร็วรอบในการหมุนจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์

5.3 การเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์


                                       ภายในของฮารืดดิสก์เมื่อถอดฝาครอบออก

5.4 การจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์

              การจัดเรียงข้อมูลบนดิสก์เป็นกระบวนการรวมข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจายบนไดรฟ์ข้อมูล (เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูล) เพื่อให้ข้อมูลทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การกระจายตัวของข้อมูลจะเกิดขึ้นกับไดรฟ์ข้อมูลตลอดเวลาเมื่อคุณบันทึก เปลี่ยนแปลง หรือลบแฟ้ม การเปลี่ยนแปลงที่คุณบันทึกลงแฟ้มมักถูกเก็บไว้บนพื้นที่อื่นของไดรฟ์ที่ไม่ใช่แฟ้มเดิม การดำเนินการเช่นนี้ไม่ได้เปลี่ยนตำแหน่งที่แฟ้มจะปรากฏใน Windows แต่ข้อมูลบางส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นแฟ้มนั้นจะถูกเปลี่ยนตำแหน่งในการจัดเก็บบนไดรฟ์จริง เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งแฟ้มและไดรฟ์จะเริ่มมีข้อมูลกระจัดกระจาย และคอมพิวเตอร์จะทำงานช้าลงเนื่องจากต้องมองหาข้อมูลจากหลายตำแหน่งเพื่อเปิดแฟ้มๆเดียว ตัวจัดเรียงข้อมูลบนดิสก์' เป็นเครื่องมือจัดเรียงข้อมูลบนไดรฟ์ข้อมูลใหม่และรวบรวมข้อมูลที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกันเพื่อให้คอมพิวเตอร์ของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใน Windows รุ่นนี้ 'ตัวจัดเรียงข้อมูลบนดิสก์' จะถูกเรียกใช้งานตามกำหนดการ ดังนั้นคุณจึงไม่ต้องคอยจดจำว่าต้องเรียกใช้โปรแกมนี้ แต่คุณก็สามารถเรียกใช้งานด้วยตนเองหรือเปลี่ยนกำหนดการใช้งานได้

5.5 การรทำงานของหัวอ่าน-เขียน

           หัวอ่านเขียนของฮาร์ดดิสก์นับเป็นชิ้นส่วนที่มีราคาแพงที่สุด และลักษณะของมัน ก็มีผลกระทบอย่างยิ่งกับ ประสิทธิภาพ ของฮาร์ดดิสก์โดยรวม หัวอ่านเขียนจะเป็นอุปกรณ์แม่เหล็ก มีรูปร่างคล้าย ๆ ตัว “C” โดยมีช่อง ว่างอยู่เล็กน้อย โดยจะมีเส้นคอยล์ พันอยู่รอบหัวอ่านเขียนนี้เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า การเขียนข้อมูล จะใช้ วิธีการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านคอยล์ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ของสนามแม่เหล็กซึ่งจะส่งผลให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงที่แพล็ตเตอร์ ส่วนการอ่านข้อมูลนั้น จะรับค่าความเปลี่ยนแปลง ของสนามแม่เหล็กผ่าน คอยล์ที่อยู่ที่หัวอ่าน เขียนแล้วแปลงค่าที่ได้เป็น สัญญาณส่งไปยังซีพียู ต่อไปเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไปความ หนาแน่นของข้อมูลก็ยิ่ง เพิ่มขึ้นในขณะที่เนื้อที่สำหรับเก็บข้อมูลก็จะลดขนาดลง ขนาดบิตของข้อมูลที่เล็กนี้ ทำให้สัญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว ส่งไปยังหัวอ่านนั้นอ่อนลง และอ่านได้ยากขึ้น ด้วเหตุนี้ทางผู้พัฒนาจึงจำเป็น ต้องวางหัวอ่านให้กับสื่อมากขึ้นเพื่อ ลดการสูญเสียสัญญาณ จากเดิมในปี 1973 ที่หัวอ่านเขียนบินอยู่ห่างสื่อ ประมาณ 17 microinch (ล้านส่วนของนิ้ว) มาในปัจจุบันนี้หัวอ่านเขียน บินอยู่เหนือแผ่นแพล็ตเตอร์เพียง 3 microinch เท่านั้น เหมือนกับการนำเครื่องบิน โบอิ้ง 747 มาบินด้วยความเร็วสูงสุด โดยให้บินห่างพื้นเพียง 1 ฟุต แต่ที่สำคัญก็คือหัวอ่านเขียนนั้นไม่เคยสัมผัส กับแผ่นแพล็ตเตอร์ ที่กำลังหมุนอยู่เลยเมื่อเครื่อง คอมพิวเตอร์ถูกปิด ฮาร์ดดิสก์จะหยุดหมุนแล้วหัวอ่านเขียนจะ เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย และหยุดอยู่ตรงนั้น ซึ่งแยกอยู่ต่างหากจากพื้นที่ที่ใช้เก็บข้อมูล 

5.6 การเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์


             ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น



                                                   แสดงการเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์

5.7 ระยะเวลาอ่านหรือหาข้อมูล (seek Time)

          เป็นระยะเวลาที่แกนยืดหัวอ่านเขียน Hard Disk เคลื่อนหัวอ่านเขียนไประหว่างแทร็คของข้อมูลบน Hard Disk ซึ่งในปัจจุบัน Hard Disk จะมีแทร็คข้อมูลอยู่ประมาณ 3,000 แทร็คในแต่ละด้านของแพล็ตเตอร์ ขนาด 3.5 นิ้ว ความสามารถในการเคลื่อนที่ จากแทร็คที่อยู่ไปยังข้อมูลในบิตต่อไป อาจเป็นการย้ายตำแหน่งไปเพียง อีกแทร็คเดียวหรืออาจย้ายตำแหน่งไปมากกว่า 2,999 แทร็คก็เป็นได้ Seek time จะวัดโดยใช้หน่วยเวลาเป็น มิลลิเซก (ms) ค่าของ Seek time ของการย้ายตำแหน่งของแขนยึดหัวอ่านเขียน ไปในแทร็คถัดไปในแทร็คที่ อยู่ติดๆกันอาจใช้เวลาเพียง 2 ms ในขณะที่การย้ายตำแหน่งจากแทร็คที่อยู่นอกสุดไปหาแทร็คที่อยู่ในสุด หรือ ตรงกันข้ามจะต้องใช้เวลามากถึงประมาณ 20 ms ส่วน Average seek time จะเป็นค่าระยะเวลาเฉลี่ย ในการย้ายตำแหน่ง ของหัวเขียนอ่านไปมาแบบสุ่ม (Random) ในปัจจุบันค่า Average seek time ของ Hard Disk จะอยู่ ในช่วงตั้งแต่ 8 ถึง 14 ms แม้ว่าค่า seek จะระบุเฉพาะคุณสมบัติในการทำงานเพียง ด้านกว้างและยาวของ แผ่นดิสก์ แต่ค่า Seek time มักจะถูกใช้ในการเปรียบเทียบ คุณสมบัติทางด้านความ เร็วของ Hard Disk ปกติจะเรียกรุ่นของ Hard Disk ตามระดับความเร็ว Seek ค่า Seek time ยังไม่สามารถแสดงให้ประสิทธิภาพทั้งหมดของ Hard Disk ได้ จะแสดงให้เห็นเพียงแต่การค้นหาข้อมูลในแบบสุ่ม ของตัว Drive เท่านั้น ไม่ได้แสดงในแง่ของ การอ่านข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential) 

Head Switch Time 

         เป็นเวลาสลับการทำงานของหัวอ่านเขียน แขนยึด หัวอ่านเขียนจะเคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไปบนแพล็ตเตอร์ที่อยู่ในแนวตรงกัน หัวอ่านเขียนเพียงหัวเดียวทำหน้าที่อ่านหรือบันทึกข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ระยะเวลาในการสลับกันทำงานของหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยเวลาเฉลี่ยที่ตัวไดร์ฟใช้สลับ ระหว่างหัวอ่านเขียน สองหัวในขณะ อ่านบันทึกข้อมูล เวลาสลับหัวอ่านเขียนจะวัดเป็นหน่วย ms 

Cylinder Switch Time 

         เวลาในการสลับ Cylinder สามารถเรียกได้อีกแบบว่าการสลับแทร็ค (track switch) ในกรณีนี้แขนยึดหัวอ่านเขียนจะวางตำแหน่งของหัวอ่านเขียนอยู่เหนือ Cylinder ข้อมูลอื่น ๆ แต่มีข้อแม้ว่า แทร็คข้อมูลทั้งหมดจะต้องอยู่ใน ตำแหน่งเดียวกันของแพล็ตเตอร์อื่น ๆ ด้วย เวลาในการสลับระหว่าง Cylinder จะวัดด้วยระยะเวลาเฉลี่ยที่ตัว ไดร์ฟใช้ในการสลับจาก Cylinder หนึ่งไปยัง Cylinder อื่น ๆ เวลาในการสลับ Cylinder จะวัดด้วยหน่วย ms 

Rotational Latency 

         เป็นช่วงเวลาที่คอยการหมุนของแผ่นดิสก์ภายในการหมุนภายใน Hard Disk เกิดขึ้นเมื่อหัวอ่านเขียนวางตำแหน่งอยู่เหนือแทร็คข้อมูลที่เหมาะสม ระบบการทำงานของหัวอ่านเขียนข้อมูลจะรอให้ตัวไดร์ฟ หมุนแพล็ตเตอร์ไปยังเซ็กเตอร์ที่ถูกต้อง ช่วงระยะเวลาที่รอคอยนี้เองที่ถูกเรียกว่า Rotational Latency ซึ่งจะวัดเป็นหน่วย ms แต่ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับ RPM (จำนวนรอบต่อนาที) 

5.8 ส่วนประกอบหลักของฮาร์ดดิสก์ 


                                    แสดงส่วนประกอบหลักของฮาร์ดิสก์

              - จานฮาร์ดดิสก์
                     - หัวอ่านฮารืดดิสก์
                     - แขนที่ใช้ขับเคลื่อนหัวฮาร์ดดิสก์
                     - มอเตอนร์ที่ใช้หมุนจากฮารืดดิสก์
                     - ตัวดักจับไฟไฟ้สถิต
                     - แผนวงจรควบคุมการทำงานของฮาร์ดดิสก์
                     - ส่วนที่ใข้กรองอากาศ
                     - สายสัญญาณ และ Connector
                     - กลไกลที่ใช้ขับเคลื่อนหัวฮาร์ดดิสก์
                     - Jumpre ที่ใช้จัดตั้ง Configuration ของฮาร์ดดิกส์
                     - รางและอุปกรณ์เสริมการติดตั้งฮาร์ดดิสก์
                     - รางและอุปกรณ์เสริมเสริมการติดตั้งฮาร์ดดิสก์
                     - แผนวงจร Head Amplifier
                     - ชุด Voice Coil
                     - สาย Pair Ribbon

5.9 พาร์ตชันฮาร์ดดิสก์



5.10 ประเภทของพาร์ติชัน


แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
            1.Primary Partition  พาร์ติชั่นหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับในการบูตเข้าระบบคอมพิวเตอร์ พาร์ติชั่นหลักจะหมายถึง drive C
            2.Extended Partition    พาร์ติชั่นรอง เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลและโปรแกรม เมื่อมีการสร้าง extened partition จะเกิด Logical Partition อัตโนมัติ โดยเราสามารถแบ่งเป็นพาร์ติชั่นย่อย ๆ ได้ และสามารถกำหนด drive ได้ตั้งแต่ D จนถึง Zการสร้าง extended partitionจะสร้างได้ ต้องสร้างหลัง primary partition แล้วเท่านั้น
           3. Logical Partition  พาร์ติชั่นย่อย ที่อยู่ภายใต้ extened partition จะเกิด logical partition ได้ต่อเมื่อมีการสร้างextened partition ก่อนเท่านั้น

5.11 ปัญหาของฮาร์ดดิสก์

       ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์เรียกว่าบอบบางมากที่สุดตัวหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ การกระทบกระเทือนหรือมีแรงกระแทกแม้เพียงเบา ๆ ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ได้ เมื่อปัญหาเกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์แล้วส่วนใหญ่จะไม่สามารถซ่อมแซ่มให้เหมือนเดิมหรือเป็นปกติได้ ยิ่งถ้ามีข้อมูลที่สำคัญ ๆ เก็บได้ในฮาร์ดดิสก์แล้วโอกาสที่จะได้ข้อมูลตัวเดิมกลับแล้วยิ่งเป็นไปได้ยากทีเดียว
       การที่ฮาร์ดดิสก์เกิดขัดข้อง หรือขึ้นข้อความเตือนมามานั้น เป็นปัญหาที่สรา้งความสสงสัยเป็นอย่างมากสำหรับฮาร์ดดิสก์ เมื่อเกิดปัญหา และวิเคราะห์อย่างมีหลักการ เพื่อเป้นการยืดอายุการใช้งานของฮาร์ดดิสก์ให้ใช้ประโยชน์ได้นาน ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นดังนี้

             5.11.1 ปัญหาเกียวกับฮาร์ดแวร์ของฮาร์ดดิสก์

             อาการที่พบ : ฮาร์ดดิสก์ไม่หมุน หลอดไฟไดร์ฟไม่ติดหรือ มอเตอร์ของฮาร์ดดิสก์หมุนแต่มีข้อความที่แสดงว่า หาฮาร์ดดิสก์ไม่เจอปรากฏบนหน้าจอ

             วิธีแก้ปัญหา :

                                 ตรวจสอบการจ่ายไฟให้กับไดร์ฟโดยเช็คไฟ +12V (สายไฟเส้นสีเหลือง) +5V (สายไฟเส้นสีแดง)

                                ตรวจสอบการติดตั้งสายสัญญาณ (ตรวจสอบสภาพของสาย Pair Hard Disk เพื่อหาจุดบกพร่องของสาย เช่นสายขาดใน )

                               ตรวจสอบ CMOS Setup (เพื่อให้แน่ใจว่า ท่านได้กำหนดหัวข้อที่เกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์ถูกต้องหรือไม่)

                                ปัญหาที่ IDE Controller 

                                ตรวจสอบสัญญาณ IDE Interface (ใช้ Logic Probe วัดที่ขา 39 ท่านควรเห็นสัญญาณ Pulse Low 1 ครั้ง หลังจากที่นับ RAM บนหน้าจอเสร็จ) หากไม่มีสัญญาณที่ขา 39 ปัญหามาจากแผงวงจรบนตัวฮาร์ดดิสก์ไม่ทำงาน

             5.11.2 มองเห็นฮาร์ดดิสก์มีปฏิกิริยาแต่ไม่ยอมบูต

            อาการที่พบ : โดยทั่วไปเป็นปัญหาเกี่ยวกับ Drive Failure Boot Sector Failure DOS/Windows File Corruption

          วิธีแก้ปัญหา :

                                1. ตรวจสอบสายสัญญาณ

                                2. ตรวจสอบ CMOS Setup

                                3 . ตรวจสอบ Boot Sector

                                4. ลองตรวจสอบดู MBR ด้วย FDISK/MBR

                                5. ตรวจสอบ Drive และ Controller

             5.11.3 มีเสียงดังผิดปกติมาจากตัวฮาร์ดดิสก์

             อาการที่พบ : ขระเปิดเตครื่องใช้งานและฮาร์ดดิสก์ไม่ทำงานลักษณะนี้ อาจมีเสียงคล้ายโลหะกระทบกันเป็นจังหวะ

            วิธีแก้ปัญหา :
                                 ปิดเครื่อง และถอดฮาร์ดดิสก์มาเขย่าเบาๆในแนวนอน (ระวังอย่าหลุดมือ) แล้วลองฟังเสียงผิดปกติที่เกิดขึ้น สังเกตว่ามีเศษวัสดุกระทบภายในหรือไม่

                                ติดตั้งฮาร์ดดิสก์กลับไปที่เดิม แล้ว เปิดเครื่อง จากนั้นลองเอามือสัมผัสกับแรงกระเทือนภายใน ฮาร์ดดิกส์ หากมีความหนักแน่น และเป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ แสดงว่าปัญหาเกิดจากกระแสไฟที่จ่ายเลี้ยง Actuator ภายในขัดข้อง เป็นปัญหาจาก ทรานซิสเตอร์ที่เป็นตัวขับแรงดันไฟไปเลี้ยง Actuator บกพร่อง


5.12 การบำรุงรักษาฮาร์ด

        ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่ต้องการการดูแลรักษาเนื่องจากว่าฮารืดดิสก์ต้องต้องหมุนด้วยความเร็วสูงอยู่ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องถ้าไม่ดูแลรักษาอยู่เสมอก็อาจจะเกิดปัญหากับฮาร์ดดิสก์ได้ วิธีการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์มีดังนี้
                                - ควรทำ Defragmenters อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่าน - เขียนข้อมูล
                                - หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง
                                - ควรมี UPS เพื่อป้องกันไฟดับขณะฮาร์ดดิสก์กำลังทำงาน
                                - ควรรอให้ฮาร์ดดิสก์หยุดทำงานก่อนการปิดเครื่องทุกครั้ง
                                - ควรมี UPS ที่มีวงจรรักษาแรงดันไฟ เพื่อป้องกันไฟกระชาก ขณะฮาร์ดดิสก์กำลัง                                      ทำงาน
                                - กรณีที่เครื่อง PC วางอยู่ใต้โต๊ะ ระวังอย่าให้เท้าไปกระแทกกับตัวเคสขระที่เครื่อง                                     ทำงาน
                                - กรณีต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องเสียง โทรทัศน์ อุปกรณ์ทุกตัวควร                                    มีสายไฟต่อลงกราวด์ด้วยdki





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น